ปัจจัยความเสี่ยง
สำหรับปัจจัยความเสี่ยงของบริษัท ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
-
ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบเหล็กรายใหญ่
► วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตสินค้าของบริษัท ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อน (Hot rolled steel sheet) หรือเหล็กแผ่นรีด เย็น (Cold rolled steel sheet), เหล็กแผ่นชุบสังกะสี (Galvanized steel sheet (zinc), เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (Electro Galvanized steel sheet) เป็นต้น ซึ่งบริษัทจัดซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายในประเทศทั้งหมด โดยมีสัดส่วนการสั่งซื้อวัตถุดิบประเภทเหล็กทุกชนิดเมื่อเทียบกับยอดซื้อรวมทั้งหมดในปี 2555 – ปี 2557 และ งวด 9 เดือนของปี 2558 คิดเป็นร้อยละ 70.28 ร้อยละ 68.10 ร้อยละ 61.69 และร้อยละ 47.06 ของยอดซื้อรวม ตามลำดับ และมีสัดส่วนการสั่งซื้อ วัตถุดิบเหล็กจากผู้จัดจำหน่ายรายที่บริษัทมียอดซื้อสูงสุดลำดับแรก คิดเป็นร้อยละ 18.94 ร้อยละ 22.88 ร้อยละ 23.44 และ ร้อยละ 21.57 ของยอดซื้อรวมในปี 2555 – ปี 2557 และ งวด 9 เดือนของปี 2558 ตามลำดับ
► อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในประเทศไทยมีผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบประเภทผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน (flat product) ที่สามารถขายเหล็กแผ่นสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตให้ทางบริษัทได้จำนวนมากราย ปัจจุบันบริษัททำการสั่งซื้อวัตถุดิบเหล็กจากผู้จัดจำหน่ายรวมจำนวนประมาณ 10 – 20 ราย และที่ผ่านมาบริษัทมีปัญหาในการสั่งซื้อวัตถุดิบ เหล็กน้อยมาก อีกทั้งบริษัทมีฝ่ายจัดซื้อทำการเปรียบเทียบราคาวัตถุดิบจากผู้จัดจำหน่ายเป็นรายวัน จึงสามารถสั่งซื้อ วัตถุดิบเหล็กแผ่นได้ในปริมาณและคุณภาพที่ต้องการได้ นอกจากนี้ บริษัทยังมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้จัดจำหน่ายมาอย่าง ต่อเนื่องมาโดยตลอด
-
ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงผู้จัดจำหน่ายสำหรับสินค้าประเภทท่อร้อยสายไฟฟ้าของบริษัท
► เนื่องจากบริษัทเป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทท่อร้อยสายไฟฟ้า โดยที่บริษัทไม่มีโรงงานผลิตท่อร้อยสายไฟฟ้าเป็นของตัวเอง แต่บริษัทได้ว่าจ้างให้ผู้ผลิตภายนอกเพียงรายเดียวในการผลิตท่อร้อยสายไฟฟ้าตามคำสั่งซื้อของบริษัท แล้วนำท่อร้อยสายไฟฟ้าดังกล่าวมาติดตราสินค้า “BSM” และ “BM” เพื่อจำหน่ายภายใต้ตราสินค้าของบริษัทเอง ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงจากการพึ่งพิงผู้ผลิตสินค้าท่อร้อยสายไฟฟ้ารายดังกล่าว โดยบริษัทมียอดขายจากการขายสินค้าในกลุ่มท่อร้อยสายไฟฟ้า ที่ว่าจ้างผู้ผลิตภายนอกในการผลิตสินค้า ในปี 2556 – ปี 2558 ร้อยละ 6.64 ร้อยละ 12.61และร้อยละ 13.40 ของรายได้จากการขายและบริการของบริษัท ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาบริษัทไม่เคยประสบปัญหาการขาดแคลนสินค้าประเภทท่อร้อยสายไฟฟ้าที่สั่งซื้อจากผู้ผลิตดังกล่าว และสินค้าท่อร้อยสายไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายนี้ก็มีคุณภาพและได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.770-2533) โดยผู้ผลิตรายดังกล่าวมีฐานะทางการเงินที่ดี และมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ในอันดับ 1 ใน 3 ของมูลค่าตลาดรวมประเภทท่อร้อยสายไฟฟ้า บริษัทคาดว่าความเสี่ยงที่ผู้ผลิตท่อร้อยสายไฟฟ้ารายดังกล่าวจะไม่ขายสินค้าให้บริษัทอยู่ในระดับที่น้อยมาก เนื่องจากบริษัทมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ผลิตรายดังกล่าวมาเป็นระยะเวลานานกว่า 6 ปี และเป็นคู่ค้าที่ดีของบริษัทมาโดยตลอด
-
ความเสี่ยงจากการเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าให้กับผู้จำหน่ายวัตถุดิบประเภทท่อร้อยสายไฟฟ้าของบริษัท
► นอกจากบริษัทมีการพึ่งพิงผู้ผลิตเพียงรายเดียวในการผลิตสินค้าในกลุ่มท่อร้อยสายไฟฟ้าภายใต้ตราสินค้าของ บริษัทแล้ว บริษัทก็ยังเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า (dealer) ประเภทท่อร้อยสายไฟฟ้าภายใต้ตราสินค้าของผู้ผลิตราย เดียวกับที่บริษัทว่าจ้างผลิตตามข้อ 3.1.2. ในฐานะตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ผลิตรายนี้ด้วยเช่นกัน โดยที่ท่อร้อย สายไฟฟ้าที่บริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายภายใต้ตราสินค้าของผู้ผลิตมีราคาที่สูงกว่าท่อร้อยสายไฟฟ้าที่บริษัทว่าจ้างผลิต ภายใต้ตราสินค้าของบริษัท ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงในความได้เปรียบเชิงแข่งขันเนื่องจากเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน และ ยังเป็นการพึ่งพิงรายได้จากผู้ผลิตรายดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม บริษัทพิจารณาว่าการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า (dealer) ประเภทท่อร้อยสายไฟฟ้าให้กับผู้ผลิตรายดังกล่าวทำให้บริษัทมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ไม่เป็นการแข่งขันกันกับ ผู้ผลิต แต่เป็นการส่งเสริมทางธุรกิจในการเพิ่มยอดขายให้กับบริษัทและผู้ผลิตรายดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ บริษัทก็มี ความสัมพันธ์อันดีในการดำเนินธุรกิจกับผู้ผลิตรายนี้มาเป็นระยะเวลานานกว่า 6 ปีและเป็นคู่ค้าที่ดีมาโดยตลอด ทั้งนี้ บริษัท มีรายได้จากการขายสินค้าท่อร้อยสายไฟฟ้าในฐานะที่เป็นตัวแทนจำหน่ายให้ผู้ผลิตรายดังกล่าว ในปี 2555 – ปี 2557 และ งวด 9 เดือนแรกของปี 2558 น้อยมาก คิดเป็นร้อยละ 0.88 ร้อยละ 0.39 ร้อยละ 0.79 และร้อยละ 1.59 ของรายได้จากการ ขายและบริการของบริษัท ตามลำดับ
-
ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง
► อุตสาหกรรมก่อสร้างโดยเฉพาะอุตสาหกรรมก่อสร้างสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะโครงการเกี่ยวกับสาธารณูปโภคเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเติบโตของรายได้ของบริษัท เนื่องจากสินค้าประเภทรางและท่อร้อยสายไฟฟ้าซึ่งเป็นสินค้าหลักของทางบริษัท มีความจำเป็นที่ต้องใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้างและการติดตั้งสายไฟฟ้าในอาคารประเภทต่าง ๆ รวมทั้งระบบสาธารณูปโภค ดังนั้น ทั้งการก่อสร้างของภาครัฐบาลและภาคเอกชนจึงส่งผลต่อรายได้ของบริษัทด้วย โดยหากเกิดสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้ภาคอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างไม่ขยายตัวตามที่คาดการณ์ไว้หรือเกิดการชะลอตัวจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น น้ำท่วม หรือ ภาวะทางการเมืองในปัจจุบันที่มีความไม่แน่นอน ทำให้การตัดสินใจดำเนินการโครงการลงทุนต่างๆ จากรัฐบาลเกิดความไม่แน่นอน ไม่มีความต่อเนื่อง และ/หรือมีความล่าช้าออกไป อาจส่งผลให้โครงการหยุดชะงัก ชะลอตัว หรือเกิดการยกเลิกได้ เป็นผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐบาลในการลงทุนล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทด้วย
► อย่างไรก็ตาม นอกจากสินค้าประเภทรางและท่อร้อยสายไฟฟ้าแล้ว บริษัทยังมีรายได้จากสินค้าประเภทอื่น ๆ ได้แก่ ตู้สื่อสาร ตู้ไฟฟ้า ตู้โลหะ ตู้ควบคุมไฟฟ้า โลหะเชื่อมประกอบ แม่พิมพ์โลหะ เครื่องมือ อุปกรณ์ รวมถึงชิ้นส่วนโลหะอื่นๆ ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้บริษัทมีความผันผวนของรายได้น้อยลง จากการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างที่อาจมีความไม่แน่นอนในอนาคตได้
-
ความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของคู่แข่งขัน
► เนื่องจากลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัทไม่มีข้อจำกัดในการเข้ามาแข่งขัน (Barrier to Entry) ประกอบกับธุรกิจของบริษัทซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าแปรรูปผลิตภัณฑ์เหล็ก ได้แก่ รางเดินสายไฟฟ้า ตู้สื่อสาร ตู้ไฟฟ้า ตู้โลหะ และตู้ควบคุมไฟฟ้าที่ใช้ตามอาคาร คอนโดมิเนียม สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม สถานีไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทยังเป็นผู้จำหน่ายท่อร้อยสายไฟฟ้า ซึ่งเป็นการว่าจ้างผู้ผลิตภายนอกในการผลิตท่อร้อยสายไฟฟ้าตามคำสั่งซื้อของบริษัท เพื่อจำหน่ายภายใต้ตราสินค้าของบริษัทเอง รวมถึงบริษัทยังเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า (dealer) ท่อร้อยสายไฟฟ้าภายใต้ตราสินค้าของผู้ผลิตภายนอกรายดังกล่าวด้วย โดยการดำเนินธุรกิจของบริษัทมีการแข่งขันในระดับปานกลาง ทำให้มีคู่แข่งเข้ามาประกอบธุรกิจแข่งขันกับบริษัทได้ไม่ยากนัก เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตไม่ซับซ้อนมาก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสินค้าของบริษัทมีหลากหลายกลุ่มสินค้าที่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปอื่น ๆ จากโลหะ ตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าได้ในเวลาที่จำกัด ทำให้บริษัทมีความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น ๆ ในด้านความหลากหลายของงานขึ้นรูปโลหะต่าง ๆ ที่สามารถผลิตสินค้าได้ตามคำสั่งของลูกค้าที่แตกต่างกันไป อีกทั้งบริษัทยังเน้นคุณภาพในการผลิตสินค้าที่มีมาตรฐาน แม่นยำ และได้คุณภาพ รวมถึงใช้เครื่องจักรที่มีความทันสมัย ตลอดจนมีการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มลูกค้า ทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในสินค้าของบริษัทอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
-
ความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาวัตถุดิบที่เปลี่ยนแปลงไปตามราคาตลาดโลก
► วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตสินค้าของบริษัท ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อน (Hot rolled steel sheet) , เหล็กแผ่นรีดเย็น (Cold rolled steel sheet), เหล็กแผ่นชุบสังกะสี (Galvanized steel sheet (zinc)), เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (Electro Galvanized steel sheet), แผ่นเหล็กเคลือบอลูซิงค์ (Aluzinc steel sheet), สแตนเลสแผ่น (Stainless steel sheet), และอะลูมิเนียมแผ่น (Aluminium sheet) เป็นต้น ซึ่งมีราคาผันแปรตามราคาเหล็กในตลาดโลกรวมถึงผันแปรตามนโยบายการจัดการด้านราคาวัตถุดิบเหล็กงานภาครัฐหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลในประเทศ ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงจากการผันผวนของราคาวัตถุดิบดังกล่าวในกรณีที่ราคาวัตถุดิบอยู่แนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น หากบริษัทมีปริมาณการสำรองสต๊อควัตถุดิบไม่เพียงพอต่อความต้องการในการผลิตสินค้า ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุน และอัตราการทำกำไรของบริษัท หากบริษัทไม่สามารถปรับราคาขายสินค้าให้เพิ่มขึ้นตามราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้นได้ สำหรับการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา บริษัทสามารถแสดงกราฟราคาวัตถุดิบประเภทเหล็ก 4 ประเภทหลัก ที่บริษัทสั่งซื้อจากผู้ผลิตในระยะเวลา 4 ปี (มกราคม 2555 – ธันวาคม 2558) ประกอบด้วย เหล็กแผ่นรีดร้อน (Hot rolled steel sheet) เหล็กแผ่นรีดเย็น (Cold rolled steel sheet) แผ่นเหล็กชุบสังกะสี (Galvanized steel sheet) และ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบไฟฟ้าหรือเหล็ก EG (Electro Galvanized steel sheet) ได้ดังนี้
► อย่างไรก็ตาม บริษัทมีฝ่ายจัดซื้อที่ติดตามราคาวัตถุดิบเหล็กอย่างใกล้ชิดเป็นรายวัน และด้วยประสบการณ์ของผู้บริหารที่มีความชำนาญและอยู่ในอุตสาหกรรมแปรรูปโลหะมานานเกือบ 20 ปี ทำให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ผลิตวัตถุดิบเหล็ก และมีการพิจารณาการสั่งซื้อวัตถุดิบให้สอดคล้องกับการวางแผนการผลิตได้อย่างเหมาะสม
► ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายการสั่งซื้อวัตถุดิบเหล็กให้เพียงพอต่อความต้องการในการผลิตและสอดคล้องกับการวางแผนการผลิตของบริษัท ซึ่งการสั่งซื้อวัตถุดิบเหล็กออกเป็น 2 กลุ่ม คือ การสั่งซื้อวัตถุดิบเหล็กเมื่อได้รับงานโครงการจากลูกค้า เช่น ผู้รับเหมาโครงการและการสั่งซื้อวัตถุดิบเหล็กตามปริมาณสต๊อคขั้นต่า (safety stock) สำหรับการผลิตประมาณ 7 – 14 วันล่วงหน้า เพื่อป้องกันการขาดแคลนวัตถุดิบ ทั้งนี้ บริษัทไม่มีนโยบายเก็บวัตถุดิบไว้ในปริมาณมากๆ และไม่มีนโยบายในการเก็งกำไรจากราคาวัตถุดิบที่เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด
-
ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน
► บริษัทมีการพึ่งพิงแหล่งเงินทุนในการดำเนินธุรกิจจากสถาบันการเงินในประเทศรวม 2 แห่ง โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2558 บริษัทมีภาระหนี้เงินกู้ยืมระยะยาวกับสถาบันการเงินรวม (รวมส่วนที่ครบกำหนดชำระภายใหนึ่งปี) เท่ากับ 53.45 ล้านบาท และเงินเบิกเกินบัญชีและกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินจำนวน 101.93 ล้านบาท เพื่อใช้ในการจัดซื้อ ที่ดินและก่อสร้างอาคารโรงงานผลิตสินค้าและโกดังเก็บวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปแห่งที่หนึ่งของบริษัท และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ตามลำดับ
► ตามข้อกำหนดในสัญญาเงินกู้ยืมกับสถาบันการเงินในประเทศแห่งหนึ่ง (ทั้งวงเงินกู้ยืมระยะสั้นและวงเงินกู้ยืมระยะยาว) มีข้อจำกัดทางการเงินที่กำหนดให้บริษัทต้องรักษาระดับอัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ ได้แก่ การดำรงอัตราส่วน หนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity Ratio) ในเวลาใดๆ ในปี 2556 – ปี 2557 ไว้ไม่เกินกว่า 3 :1 เท่า ในปี 2558 ไม่เกินกว่า 2.5 :1 เท่า และตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป ไม่เกินกว่า 2 : 1 เท่า การดำรงอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ (Debt Service Coverage Ratio : DSCR) ไม่น้อยกว่า 1.25 เท่า และการดำรงอัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) ไม่น้อยกว่า 1.25 เท่า ที่ผ่านมาบริษัทสามารถดำรงอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวได้มาโดยตลอด และสำหรับงวด 9 เดือนแรกของปี 2558 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2558 บริษัทก็สามารถรักษาระดับ อัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวตามข้อกำหนดของสถาบันทางการเงินได้ โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2558 บริษัทมีอัตราส่วน หนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เท่ากับ 1.56 เท่า อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตบริษัทมีการก่อหนี้สินเพิ่มสูงขึ้นในสัดส่วนที่มากกว่าการเพิ่มขึ้นของส่วนของผู้ถือหุ้น อาจส่งผลให้บริษัทไม่สามารถรักษาระดับอัตราส่วนทางการเงินตามข้อกำหนดของ สถาบันทางการเงินได้ แต่เนื่องจากในปัจจุบัน บริษัทอยู่ระหว่างการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งหากบริษัทสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และระดมทุนจากประชาชนเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering : IPO) แล้วเสร็จก็จะส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทเพิ่มสูงขึ้น และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทลดลงได้ นอกจากนี้ บริษัทจะนำเงินที่ระดมทุนจากประชาชนเป็นครั้งแรกไปชำระคืนเงินกู้ยืมสถาบันการเงินอีกบางส่วน ซึ่งจะสามารถลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินให้น้อยลงได้
-
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย
► บริษัทมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่เกี่ยวเนื่องกับเงินกู้ยืมสั้นและเงินกู้ยืมระยะยาวกับสถาบันการเงินในประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความผันผวนของต้นทุนทางการเงินของบริษัท โดยในปี2557 และงวด 9 เดือนแรกของปี 2558 บริษัท มีต้นทุนทางการเงิน (ดอกเบี้ยจ่าย) กับสถาบันการเงินในประเทศรวมทั้งสิ้น 11.25 ล้านบาท และ 9.29 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่ง ณ วันที่ 30 กันยายน 2558 บริษัทมีภาระหนี้เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินรวมทั้งสิ้น 155.38 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินเบิกเกินบัญชีและกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินจำนวน 101.93 ล้านบาท และเงินกู้ยืมระยะยาวกับสถาบันการเงิน (รวมส่วนที่ครบกำหนดชาระภายใหนึ่งปี) เท่ากับ 53.45 ล้านบาท โดยเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน มีอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นลงตามอัตราตลาดในปัจจุบัน กล่าวคือ เป็นอัตราดอกเบี้ยที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้ แบบมีระยะเวลา (Minimum Loan Rate : MLR) และอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate : MOR) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวเกือบทั้งหมด ดังนั้น หากเกิดภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงิน กู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลให้บริษัทมีภาระดอกเบี้ยจ่ายมากขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม สถานการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยใน ปัจจุบันยังมีความผันผวนน้อย ดังนั้น ความเสี่ยงจากเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยสำหรับบริษัทจึงอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ
-
ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงกรรมการและผู้บริหารหลักในการบริหารงาน
► เนื่องจากนายธานิน สัจจะบริบูรณ์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทและดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ กรรมการผู้มีอำนาจลงนามประธานกรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทในสัดส่วนร้อยละ 17.03 ของทุนชำระแล้วของบริษัทก่อน IPO หรือ ร้อยละ 12.78 ของทุนชำระแล้วของบริษัทหลัง IPO โดยนายธานินฯ เป็นผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจ มาเป็นเวลานาน เป็นผู้มีวิสัยทัศน์และมีหน้าที่โดยตรงในการกำหนดนโยบาย ทิศทางและการดำเนินธุรกิจหลักของบริษัท ดังนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงของกรรมการและผู้บริหารหลักรายดังกล่าว อาจทำให้บริษัทประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ในอนาคตก็ได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการกระจายอำนาจการจัดการและลดความเสี่ยงในการพึ่งพิงกรรมการ บริษัทจึงจัดโครงสร้าง องค์กรให้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ในการบริหารและการดำเนินธุรกิจขึ้น และให้ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและกำหนดทิศทางของบริษัทมากขึ้น มีการกระจายอำนาจการบริหาร มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบในงานด้านต่างๆ อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม นายธานิน สัจจะบริบูรณ์ ก็ยังจะเป็นผู้กำหนดนโยบายหลักของบริษัท และมีผู้บริหารแต่ละฝ่ายมีอำนาจตัดสินใจดำเนินการด้านต่าง ๆ ในรายละเอียด เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงกรรมการและผู้บริหารหลัก